วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2550

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology:IT)
หรือที่เรียกว่า ไอที นั้น โดยเน้นการใช้เทคโนโลยี ซึ่งรวมถึงกระบวนการดำเนินงานสารสนเทศหรือสารนิเทศในขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่การแสวงหา การวิเคราะห์ การจัดเก็บ การจัดการ และการเผยแพร่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วทันต่อการนำมาใช้ประโยชน์ หรือการนำสารสนเทศและข้อมูลไปปฏิบัติตามเนื้อหาของข้อมูลนั้นๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายของผู้ใช้

ประเภทของเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
1. ระบบสนับสนุนการทำงานในการปฏิบัติงานประจำวัน (Official information System:OIS)
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร(Management Information System :MIS)
3.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System :DSS)
4.ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง(Executive Information System :EIS)
5.ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems :ES)

ข้อดี – ข้อจำกัดของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ข้อดี
-มีการเรียนรู้ที่กว้างขวาง
-ทำให้วิถีความเป็นอยู่สังคมเปลี่ยนไปข้อจำกัด
-มีค่าใช้จ่ายสูง-บุคคลากร

แนวทางการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการศึกษา
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)-เครื่องสอน (Teaching Machine)- การสอนเป็นคณะ (Team Teaching)- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
2. ความพร้อม (Readiness) เดิมทีเดียวเชื่อกันว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายาก และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียน การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น- ศูนย์การเรียน (Learning Center)- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)- การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอน หรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชา ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียน เป็นปี ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น- การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)- มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)- การเรียนทางไปรษณีย์4. ประสิทธิภาพในการเรียน การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น- มหาวิทยาลัยเปิด- การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์- การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป- ชุดการเรียนการสอน

การประเมินผลการใช้งาน
จัดทำแบบทดสอบหรือแบบสอบถาม ให้กับผู้ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ

วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2550

คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบเข้าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์
2. ซอฟแวร์ (Software) คือ โปรแกรมที่เขียนขึ้น เพื่อกำหนดให้ฮาร์ดแวร์ของระบบคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการ โดยซอฟแวร์ตัวหนึ่ง ๆ อาจจะประกอบด้วยโปรแกรมหลายโปรแกรม เกี่ยวเนื่องและตัวโปรแกรมต้องประกอบด้วย คำสั่งที่จะสั่งให้ส่วนต่าง ๆ ของฮาร์ดแวร์ทำงาน
3. บุคลากร (Peopleware) การทำงานของคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีบุคลากร ในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ และจัดทำโปรแกรมซึ่งแบ่งออกได้เป็น
1) พนักงานเตรียมข้อมูล (data entry operator) ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลลงในอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น บัตรเจาะรู เทปแม่เหล็ก ฯลฯ
2) พนักงานควบคุมคอมพิวเตอร์ (computer operator) ทำหน้าที่บรรจุโปรแกรมและข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ เตรียมและติดตั้งอุปกรณ์ในการใช้งานคอมพิวเตอร์ ตรวจสอบ/แก้ไข การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์
3) นักโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (programmer) เขียนโปรแกรมที่จะสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่าง ๆ ตามต้องการ
4) นักวิเคราะห์ระบบ (systerm analysis) มีหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบงานที่จะนำคอมพิวเตอร์เข้าไปใช้ได้
ความหมายของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน(Computer Instruction : CAI)
เป็นกระบวนการเรียนการสอน โดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ ในการนำเสนอเนื้อหาเรื่องราวต่างๆ มีลักษณะเป็นการเรียนโดยตรง และเป็นการเรียน แบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) คือสามารถโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ได้
ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1.ประเภทการฝึกหัด (Drill and Practive)วัตถุประสงค์คือ ฝึกความแม่นยำ หลังจากที่เรียนเนื้อหาจากในห้องเรียนมาแล้ว โปรแกรมจะไม่เสนอเนื้อหา แต่ใช้วิธีสุ่มคำถามที่นำมาจากคลังข้อสอบ มีการเสนอคำถามซ้ำแล้วซ้ำอีกเพื่อวัดความรู้จริง มิใช่การเดา จากนั้นก็จะประเมินผล
2.ประเภทสถานการณ์จำลอง (Simulation)เพื่อให้ผู้เรียนได้ทดลองปฏิบัติกับสถานการณ์จำลอง ที่มีความใกล้เคียงกับเหตุการณ์จริง เพื่อฝึกทักษะและเรียนรู้ โดยไม่ต้องเสี่ยงหรือเสียค่าใช้จ่ายมาก มักเป็นโปรแกรมสาธิต(Demostration) เพื่อให้ผู้เรียนทราบถึงทักษะที่จำเป็น
3.ประเภทเกมการสอน (Instruction Games)ประเภทนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน มีการแข่งขัน เราสามารถใช้เกมในการสอน และเป็นสื่อที่ให้ความรู้แก่ผู้เรียนได้ ในแง่ของกระบวนการ ทัศนคติ ตลอดจนทักษะต่างๆ ทั้งยังช่วยเพิ่มบรรยากาศในการเรียนรู้ให้มากขึ้นด้วย
4.ประเภทการค้นพบ (Discovery)เพื่อให้ผู้เรียน ได้มีโอกาสทดลองกระทำสิ่งต่างๆ ก่อน จนกระทั่งสามารถหาข้อสรุปได้ด้วยตนเอง โปรแกรมจะเสนอปัญหาให้ผู้เรียนได้ลองผิดลองถูก และให้ข้อมูลแก่ผู้เรียน เพื่อช่วยผู้เรียนในการค้นพบนั้น จนกว่าจะได้ข้อสรุปที่ดีที่สุด
5.ประเภทการแก้ปัญหา (Problem-Solving)เพื่อฝึกให้นักเรียนรู้จักการคิด การตัดสินใจ โดยจะมีเกณฑ์ ที่กำหนดให้แล้วผู้เรียนพิจารณาตามเกณฑ์นั้นๆ
6.ประเภทเพื่อการทดสอบ (Test)ประเภทนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการสอน แต่เพื่อใช้ประเมินการสอนของครู หรือการเรียนของนักเรียน คอมพิวเตอร์จะประเมินผลในทันที ว่านักเรียนสอบได้หรือสอบตก และจะอยู่ในลำดับที่เท่าไร ได้ผลการสอบกี่เปอร์เซ็นต์
ข้อดี ข้อจำกัด
ข้อดี
1) ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนช้าหรือเร็วได้ ตามระดับความสามารถของตนเอง
2) ไม่จำกัดสถานที่เรียน ผู้เรียนไม่จำเป็นจะต้องมายังสถานศึกษา
3) สามารถเรียนจากสื่อประสม
4) การทราบผลการเรียนทันที คอมพิวเตอร์สามารถแจ้งและบันทึกผลการปฏิบัติได้ทันที
ข้อจำดัด
1. ขาดซอฟแวร์บทเรียนที่มีคุณภาพ
2. ขาดบุคลากรที่มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์
3. ครุภัณฑ์มีราคาสูง
การออกแบบและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
ขั้นตอนการออกแบบการสอนในคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประกอบไปด้วย 9 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1. ดึงดูดความสนใจ เป็นการกระตุ้นและจูงใจให้ผู้เรียนมีความต้องการที่จะเรียน
ขั้นตอนที่ 2. บอกวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนได้ทราบถึงเป้าหมายในการเรียนโดยรวม
ขั้นตอนที่ 3. ทบทวนความรู้เดิม
ขั้นตอนที่ 4. การเสนอเนื้อหาใหม่ เพื่อช่วยให้การรับรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ขั้นตอนที่ 5. ชี้แนวทางในการเรียนรู้ ใช้การสอนแบบค้นพบ หรือการสอนแบบอุปมา ถือได้ว่าเป็นการชี้แนวทางการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนพยายามวิเคราะห์หาคำตอบได้ด้วยตนเอง
ขั้นตอนที่ 6. กระตุ้นการตอบสนอง ออกมาในรูปของกิจกรรมต่างๆ ที่ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการคิด และปฏิบัติในเชิงโต้ตอบ
ขั้นตอนที่ 7. ให้ผลป้อนกลับ คือ การให้ข้อมูลย้อนกลับไปยังผู้เรียนเกี่ยวกับความถูกต้อง
ขั้นตอนที่ 8. ทดสอบความรู้ เป็นการประเมินว่า ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามที่ได้ตั้งเป้าหมายหรือไม่
ขั้นตอนที่ 9. การจำและนำไปใช้การใช้และการประเมินผลการประยุกต์
การนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการนำคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มาใช้งาน สามารถกระทำได้หลายลักษณะ ได้แก่
1. ใช้สอนแทนผู้สอน ทั้งในและนอกห้องเรียน ทั้งระบบสอนแทน, บททบทวน และสอนเสริม
2. ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนทางไกล ผ่านสื่อโทรคมนาคม เช่น ผ่านดาวเทียม เป็นต้น
3. ใช้สอนเนื้อหาที่ซับซ้อน ไม่สามารถแสดงข้องจริงได้ เช่น โครงสร้างของโมเลกุลของสาร
4. เป็นสื่อช่วยสอน วิชาที่อันตราย โดยการสร้างสถานการณ์จำลอง เช่น การสอนขับเครื่องบิน การควบคุมเครื่องจักรกลขนาดใหญ่
5. เป็นสื่อแสดงลำดับขั้น ของเหตุการณ์ที่ต้องการให้เห็นผลอย่างชัดเจน และช้า เช่น การทำงานของมอเตอร์รถยนต์ หรือหัวเทียน
6. เป็นสื่อฝึกอบรมพนักงานใหม่ โดยไม่ต้องเสียเวลาสอนซ้ำหลายๆ หน สร้างมาตรฐานการสอน

แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้

ความหมายของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ หมายถึง ศูนย์รวมของวิชาความรู้ที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ บุคคล สิ่งประดิษฐ์ วัตถุ อาคาร สถานที่ ซึ่งมีอยู่กระจัดกระจาย ทั้งชุมชนเมืองและชุมชนชนบท อันเป็นขุมทรัพย์แห่งปัญญาที่แทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตของมนุษย์ เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ค้นพบได้อย่างไม่รู้จบ
ประเภทของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
จำแนกเป็น 4 ประเภทใหญ่ คือ
1 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทบุคคล หมายถึง บุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม มีผลงานได้รับการยกย่อง เป็นที่ยอมรับของสังคมซึ่งถือเป็นตัวอย่างต้นแบบกับบุคคลรุ่นหลังสืบไปในหลายสาขาอาชีพ ตัวอย่างเช่น แม่กิมลั้ง แม่กิมเนีย ที่มีความถนัดทางด้านปรุงแต่งขนมหม้อแกงเมืองเพชร
2 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภททรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สภาพธรรมชาติที่มีอยู่แล้วในโลกและอวกาศ ซึ่งไม่ได้หมายถึงสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ เช่น ภูเขา ป่าไม้ ลำธาร ห้วย หนอง คลอง บึง แม่น้ำ และสัตว์ป่านานาชนิด
3 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทสื่อ หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่ใช้เป็นช่องทางการสื่อสาร
4 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทวัตถุและอาคารสถานที่ หมายถึง วัตถุและอาคารสถานที่ ที่มีศักยภาพเป็นแหล่งความรู้ด้วยตัวของมันเอง สามารถสื่อความหมายโดยลำพังตัวเอง เช่น สถาปัตยกรรมด้านการก่อสร้าง จิตรกรรมภาพฝาผนัง ปูชนียวัตถุด้านประวัติศาสตร์ ชิ้นส่วนของธรรมชาติที่ให้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ โบราณวัตถุทางด้านศาสนา พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น
ประโยชน์ของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่มีผลต่อการศึกษา
ผู้เรียนจะได้รับประสบการณ์โดยตรงที่สามารถสัมผัสกับบรรยากาศและสถานการณ์จริงนอกจากนี้ประโยชน์ของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้นี้ผู้เรียนทุกๆคน สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลาและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
การนำแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้มาใช้กับการเรียนการสอน
แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่แท้จริงต้องสามารถสัมผัสกับบรรยากาศและสถานการณ์จริงโดยเอื้อประโยชน์ต่อกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งการเรียนรู้นั้นเกิดได้กับผู้เรียนทุกคน ทุกเวลา มีความหมาย มีความหลากหลาย สามารถเน้นทักษะและนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ ผู้เรียนมีอิสระในการตัดสินใจ คิดริเริ่มและ ปฏิบัติได้อย่างมีความสุข

นวัตกรรมการศึกษา

ความหมายนวัตกรรม
คำว่า "นวัตกรรม" หรือ นวกรรม มาจากคำภาษาอังกฤษว่า "Innovation" โดยคำว่า นวัตกรรม มีรูปศัพท์เดิมมาจากภาษาบาลี คือ นว+อตต+กรรม กล่าวคือ นว แปลว่า ใหม่ อัตต แปลว่า ตัวเอง และกรรม แปลว่า การกระทำ เมื่อรวมคำ นว มาสนธิกับ อัตต จึงเป็น นวัตต และ เมื่อรวมคำ นวัตต มาสมาส กับ กรรม จึงเป็นคำว่า นวัตกรรม แปลตามรากศัพท์เดิมว่า การกระทำที่ใหม่ของตนเอง หรือ การกระทำของตนเองที่ใหม่ (เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต, 2528)
ส่วนคำว่า "นวกรรม" ที่มีใช้กันมาแต่เดิม มีรากศัพท์เดิมมาจากคำว่า นว แปลว่า ใหม่ กรรม แปลว่า การกระทำ จึงแปลตามรูปศัพท์เดิมว่าเป็นการปฏิบัติหรือการกระทำใหม่ๆ
ในความหมายโดยทั่วไปแล้วสิ่งใหม่ๆ อาจหมายถึงความคิด วิธีปฏิบัติ วัตถุหรือสิ่งของที่ใหม่ ซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักมาก่อน คำว่านวัตกรรมนี้อาจมีผู้ใช้คำอื่นๆ อีก เช่น นวัตกรรม ความจริงแล้วก็เป็นคำ ๆ เดียวกันนั่นเอง
Hughes (1971) อธิบายว่า นวัตกรรม เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. การคิดค้น (invention)
2. การพัฒนา (Development)
3. นำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา
Everette M. Rogers (1983) ได้ให้ความหมายของคำว่า นวัตกรรม (Innovation) ว่า นวัตกรรมคือ ความคิด การกระทำ หรือวัตถุใหม่ ๆ ซึ่งถูกรับรู้ว่าเป็นสิ่งใหม่ๆ ด้วยตัวบุคคลเแต่ละคนหรือหน่วยอื่น ๆ ของการยอมรับในสังคม(Innovation is a new idea, practice or object, that is perceived as new by the individual or other unit of adoption)
การพิจารณาว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นนวัตกรรมนั้น Everette M. Rogers ได้ชี้ให้เห็นว่าขึ้นอยู่กับการรับรู้ของแต่ละบุคคลหรือกลุ่มบุคคลว่าเป็นสิ่งใหม่สำหรับเขา ดังนั้นนวัตกรรมของบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอาจไม่ใช่นวัตกรรมของบุคคลกลุ่มอื่น ๆ ก็ได้ ขึ้นอยู่กับการรับรู้ของบุคคลนั้นว่าเป็นสิ่งใหม่สำหรับเขาหรือไม่ อีกประการหนึ่งความใหม่ (newness) อาจขึ้นอยู่กับระยะเวลาด้วย สิ่งใหม่ๆ ตามความหมายของนวัตกรรมไม่จำเป็นจะต้องใหม่จริงๆ แต่อาจจะหมายถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เป็นความคิดหรือการปฏิบัติที่เคยทำกันมาแล้วแต่ได้หยุดกันไประยะเวลาหนึ่ง ต่อมาได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาทำใหม่เนื่องจากเห็นว่าสามารถช่วยแก้ปัญหาในสภาพการณ์ใหม่นั้นได้ ก็นับว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งใหม่ได้ ดังนั้น นวัตกรรมอาจหมายถึงสิ่งใหม่ๆ ดังต่อไปนี้
1. สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดเคยทำมาก่อนเลย
2. สิ่งใหม่ที่เคยทำมาแล้วในอดีตแต่ได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่
3. สิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม

ความสำคัญของนวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรมมีความสำคัญต่อการศึกษาหลายประการ ทั้งนี้เนื่องจากในโลกยุคโลกาภิวัตน์ Globalization มีการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความก้าวหน้าทั้งด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ การศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาเปล่ยนแปลงจากระบบการศึกษาที่มีอยู่เดิม เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับนวัตกรรมการศึกษาที่จะนำมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาในบางเรื่อง เช่น ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับจำนวนผู้เรียนที่มากขึ้น การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย การผลิตและพัฒนาสื่อใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้นด้วยระยะเวลาที่สั้นลง การใช้นวัตกรรมมาประยุกต์ในระบบการบริหารจัดการด้านการศึกษาก็มีส่วนช่วยให้การใช้ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
กล่าวโดยสรุป นวัตกรรมการศึกษาเกิดขึ้นตามสาเหตุใหม่ ๆ ดังต่อไปนี้
1 การเพิ่มปริมาณของผู้เรียนในระดับชั้นประถมศกษาและมัธยมศึกษาเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้นักเทคโนโลยีการศึกษาต้องหานวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ เพื่อให้สามารถสอนนักเรียนได้มากขึ้น
2 การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว การเรียนการสอนจึงต้องตอบสนองการเรียนการสอนแบบใหม่ ๆ ที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เร็วและเรียนรู้ได้มากในเวลาจำกัดนักเทคโนโลยีการศึกษาจึงต้องค้นหานวัตกรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อวัตถุประสงค์นี้
3 การเรียนรู้ของผู้เรียนมีแนวโน้มในการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น ตามแนวปรัชญาสมัยใหม่ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง นวัตกรรมการศึกษาสามารถช่วยตอบสนองการเรียนรู้ตามอัตภาพ ตามความสามารถของแต่ละคน เช่นการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน Computer Assisted Instruction หรือ CAI การเรียนแบบศูนย์การเรียน เป็นต้น
4 ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีโทรคมนาคม ที่ส่วนผลักดันให้มีการใช้นวัตกรรมการศึกษาเพิ่มมากขึ้น เช่น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทำให้คอมพิวเตอร์ มีขนาดเล็กลง แต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาก เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ทำให้เกิดการสื่อสารไร้พรมแดน นักเทคโนโลยีการศึกษาจึงคิดค้นหาวิธีการใหม่ ๆ ในการประยุกต์ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเรียนรู้ ที่เรียกว่า "Web-based learning" ทำให้สามารถเรียนรู้ในทุกที่ทุกเวลาสำหรับทุกคน (Any where, Any time for Everyone)
การใช้คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันเป็นไปอย่างกว้างขวาง ในวงการศึกษาคอมพิวเตอร์มิใช่เพียงแต่สิ่งอำนวยความสะดวกในสำนักงานเท่านั้น แต่ยังใช้เป็นสื่อหรือเป็นเครื่องมือสร้างสื่อได้อย่างสวยงามเหมือนจริง และรวดเร็วมากกว่าก่อน นักเทคโนโลยีการศึกษาจึงศึกษาวิจัยบทบาทของนวัตกรรมทางด้านการผลิตและการใช้สื่อใหม่ ๆ ตามศักยภาพของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่เพิ่มมากขึ้นเช่น คอมพิวเตอร์กราฟิก ระบบมัลติมีเดีย วิดีโอออนดีมานด์ (Video-on-Demand) การประชุมทางไกล (Teleconference) อี-เลินนิ่ง (e-Learning) อี-เอ็ดดูเคชั่น (e-Education) เป็นต้น


องค์ประกอบและเกณฑ์ของการพิจารณานวัตกรรมการศึกษา
ยังมีผู้เข้าใจผิดว่าคำว่า "นวัตกรรม" มีความหมายเดียวกันกับคำว่า "เทคโนโลยี" ความจริงแล้ว "เทคโนโลยี" หมายถึงวิทยาการหรือวิธีการใหม่ ๆ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ผลจริง จนเป็นที่แพร่หลายเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปแล้ว ดังนั้นเมื่อนักวิจัยหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องทำการศึกษา ค้นคว้าทดลอง จนได้ผลงานใหม่ๆ ออกมาแล้ว ผลงานวิจัยนั้นยังมีข้อจำกัดคือทำการทดลองภายใต้สภาวการณ์หนึ่งเท่านั้น ซึ่งมักจะเป็นภายในห้องทดลองหรือในพื้นที่ที่มีการควบคุมตัวแปรอื่นๆ อย่างดี จึงยังไม่อาจแน่ใจได้ว่าผลการวิจัยนั้นจะนำไปใช้ปฏิบัติตามสภาพที่เป็นจริงได้หรือไม่ เนื่องจากยังไม่ได้ผ่านการทดสอบว่าจะมีความเหมาะสมกับสภาพของท้องถิ่นนั้น ๆ หรือไม่ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำการทดลองใช้ในพื้นที่จริงๆอีกหลายครั้ง จนแน่ใจว่าสามารถใช้ได้ ในขั้นตอนนี้จึงถือเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีอีกขั้นตอนหนึ่ง ดังนั้นเทคโนโลยีจึงอาจหมายถึงผลการวิจัยที่ได้ผ่านการทดสอบและพัฒนามาแล้วจนสามารถใช้ได้ผลในสภาพตามความเป็นจริง และมีการนำไปใช้กันอย่างแพร่หลายแล้วนั่นเอง
ศาสตราจารย์ ดร. ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ได้ให้เกณฑ์การพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรมไว้ 4 ประการ คือ
1. นวัตกรรมจะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด หรือบางส่วนอาจเป็นของเก่าใช้ไม่ได้ผลในอดีต แต่นำมาปรับปรุงใหม่ หรือเป็นของปัจจุบันที่เรานำมาปรับปรุงให้ดีขึ้น
2.มีการนำวิธีการจัดระบบมาใช้ โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วนข้อมูลที่นำเข้าไปในกระบวนการและผลลัพธ์ โดยกำหนดขั้นตอนการดำเนินการให้เหมาะสมก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลง
3. มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยหรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่า "สิ่งใหม่" นั้นจะช่วยแก้ปัญหาและการดำเนินงานบางอย่างได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบันหาก "สิ่งใหม่" นั้น ได้รับการเผยแพร่และยอมรับจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานที่ดำเนินอยู่ในขณะนั้นไม่ถือว่าสิ่งใหม่นั้นเป็น นวัตกรรมแต่จะเปลี่ยนสภาพเป็นเทคโนโลยีอย่างเต็มที่

ขอบข่ายของนวัตกรรม
สำหรับนวัตกรรมทางการศึกษา มีขอบข่ายในเรื่องอื่นๆ ดังต่อไปนี้
1. การจัดการเรื่องการสอนด้วยวิธีการใหม่ๆ
2 เทคนิควิธีการสอนแบบต่าง ๆ ที่ไม่เคยมีการทำมาก่อน
3 การพัฒนาสื่อใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน
4 การใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาปรับใช้ในระบบการเรียนการสอนในระบบทางไกลและการเรียนด้วยตัวเอง
5 วิธีการในการออกแบบหลักสูตรใหม่ๆ
6 การจัดการด้านการวัดผลแบบใหม่


การเรียนการสอนผ่านสื่อคอมพิวเตอร์
ในอนาคตมีแนวโน้มการเรียนการสอนไปในทิศทางที่เปลี่ยนแปลงไป เพราะมีสาเหตุดังต่อไปนี้ (สมพร ชมอุตม์,2532)
1 ปัจจุบันมีนวัตกรรมเกิดขึ้นใหม่ๆ ในทางการเรียนการสอน มีสื่อซึ่งผลิตออกมาอย่างไม่หยุดยั้ง ที่สหรัฐอเมริกามีบริษัทผลิตสื่อดัง ๆ แข่งขันกันหลายบริษัทเช่น บริษัทคอมพิวเตอร์ แอปเปิล แมคอินทอช ไอบีเอ็ม ฮิวเล็ตแพคการ์ด คอมแพค เป็นต้น
2 การเปลี่ยนวิธีการสอนแบบใหม่ ๆ ซึ่งครูใช้กันอย่างกว้างขวางด้วยการเผยแพร่ทางโทรทัศน์ โดยผลิตรายการทางการเรียนการสอนออกมาเป็นเกมส์ ซึ่งผสมผสานกับวิชาการ ผู้เรียนเรียนอย่างสนุกสนานและมีความสนใจสูง แถมยังเรียนได้ผลดีด้วย
3 มีสื่อหลากหลายซึ่งช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเองเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
4 มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพื่อให้เข้ากับสภาวะการณ์ในปัจจุบัน
5.คนสนใจทางการศึกษาเพิ่มขึ้นเพื่อเพิ่มพูนความรู้จากการศึกษานอกระบบ เช่น มหาวิทยาลัยเปิด มีการเรียนการสอนโดยใช้วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ตลอดจนการเรียนคอมพิวเตอร์ มีระบบการเรียนแบบการให้การศึกษาทบทวนความรู้เก่าที่ลืมไปแล้ว (re-education)
6 ทรัพยากรการเรียนรู้เพิ่มขึ้น กล่าวคือ มีการผลิตสื่อออกมาหลาย ๆ รูปแบบและยังมีนักวิชาการสาขาใหม่ๆ เพิ่มขึ้น เช่น วิศวกรการจราจร (Traffic Engineering) เพราะการสัญจรกลายเป็นเรื่องศาสตร์ที่ต้องศึกษากันอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง วิศวกรจะต้องวางแผนการสร้างถนนหนทางว่าทำอย่างไรจึงทำให้การจราจรไม่ติดขัด หรือมีวิชาการใหม่ ๆ เช่น ปิโตรเคมี สาขาเกษตรทางการประมง เป็นต้น
7 การวิจัยเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนมีเพิ่มขึ้นทั้งในและนอกประเทศ
8 ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนในระบบและนอกระบบ มีความร่วมมือกันระหว่างเอกชนกับรัฐที่ประสานงานกันในเรื่องของการเรียนการสอน ตลอดจนมีการฝึกอบรมทางวิชาการเพิ่มขึ้นทั้งฝ่ายของรัฐและเอกชน

การแพร่กระจายนวัตกรรมการศึกษา (Diffusion of Innovation)

การแพร่กระจายนวัตกรรมเป็นกระบวนการในการถ่ายเทความคิด การปฏิบัติ ข่าวสาร หรือพฤติกรรมไปสู่ที่ต่างๆ จากบุคคลหรือกลุ่มบุคลไปสู่กลุ่มบุคคลอื่นโดยกว้างขวาง จนเป็นผลให้เกิดการยอมรับความคิดและการปฏิบัติเหล่านั้นอันมีผลต่อโครงสร้างและวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในที่สุด
ภาพ Everette M. Rogers
Everette M. Rogers (1983) ได้ให้ความหมายคำว่าการแพร่กระจาย หรือ "Diffusion" ดังต่อไปนี้
การแพร่กระจาย คือ กระบวนการ ซึ่งนวัตกรรมถูกสื่อสารผ่านช่องทางในช่วงเวลาหนึ่งระหว่างสมาชิกต่างๆ ที่อยู่ในระบบสังคม (Diffusion is the process by which an innovation is communicated through certain channels overtime among the members of a social systems)
ตามความหมายข้างต้น Rogers ได้อธิบายส่วนประกอบของการแพร่กระจาย นวัตกรรมไว้ 4 ประการคือ
1 มีนวัตกรรมเกิดขึ้น
2 ใช้สื่อเป็นช่องทางในการส่งผ่านนวัตกรรมนั้น
3 ช่วงระยะเวลาที่เกิดแพร่กระจาย
4 ผ่านไปยังสมาชิกในระบบสังคมหนึ่ง
แผนภูมิแสดงการแพร่กระจายนวัตกรรม
มีผู้วิจารณ์เกี่ยวกับการนำนวัตกรรมมาทดลองใช้ในเรื่องต่าง ๆ โดยเฉพาะกับคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้งานด้านการศึกษาชูทซ์ (Sehutz; 1982) ได้ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ โดยให้แง่คิดเกี่ยวกับขั้นตอนของการเกิด นวตกรรม ดังนี้ (ไชยยศ เรืองสุวรรณ, 2533)
1 มีการเรียกหานวัตกรรมอยูเสมอ เหมือนกับว่า นวัตกรรมเป็นยาครอบจักรวาลที่สามารถเยียวยาอาการป่วย (ปัญหา) ของการศึกษาทั้งมวลได้
2 หลังจากเรียกหาได้ไม่นานนัก ปัญหาเพียงเล็กน้อยก็ถูกนำมากล่าวถึงและในช่วงนี้ก็มีใครสักคนหนึ่งเสนอนวัตกรรมเทคโนโลยีเข้ามาสู่การศึกษา และให้ความมั่นใจแก่เราว่า ความสำเร็จในการแก้ปัญหาด้วยการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีนั้นอยู่แค่เอื้อม
3 เมื่อเกิดความบกพร่องผิดพลาดปรากฎออกมาอย่างชัดเจน ก็พบว่า นวัตกรรมนั้นไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาอะไรได้อย่างแท้จริง นวัตกรรมเป็นเพียงการเล่นตลกของสื่ออย่างไม่มีวันจบสิ้น ใครคนนั้นก็กระโดดหายไปจาก วงการ พร้อมกับตำหนิความบกพร่องของโรงเรียน ในการใช้จ่ายเงินอย่างสุรุ่ยสุร่ายเพื่อจัดซื้อสิ่งต่างๆ ซึ่งขณะนี้อยู่บนชั้นหรือในตู้ของโรงเรียนเรียบร้อยแล้ว
4 วงจรของปัญหาทำนองนี้มักจะเกิดขึ้นอีก พร้อมกันนั้นก็มีการเสนอนวัตกรรมทางเทคโนโลยีแบบแปลกใหม่ต่อไป


ลักษณะที่สำคัญบางประการของการแพร่กระจายนวัตกรรม

1 การแพร่กระจายเป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคม Everette M. Rogers ให้ความหมายของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม (social change) ว่า หมายถึง กระบวนการซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงปรากฏขึ้นในโครงสร้างและหน้าที่ของระบบสังคม เมื่อมีความคิดใหม่ๆ ถูกประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมา มีการแพร่กระจายออกไปและได้รับการยอมรับหรือไม่ยอมรับ จนกระทั่งมีการนำไปสู่ผลกระทบจริงๆ ต่อสังคม การเปลี่ยนแปลงทางสังคมก็ได้ปรากฏขึ้นแล้ว ความจริงแล้วการเปลี่ยนแปลงอาจเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่นๆ เช่น เป็นผลกระทบจากธรรมชาติ ยกตัวอย่างการเกิดความแห้งแล้งหรือแผ่นดินไหว ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสังคมตามมาหลายอย่าง แต่การเปลี่ยนแปลงลักษณะนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการแพร่กระจายของนวัตกรรมโดยปกติแล้วกระบวนการของนวัตกรรมของสังคมใดสังคมหนึ่งเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงสังคมซึ่งประกอบด้วยขั้นตอน 3 ประการ คือ (สุรพงษ์ โสธนะเสถียร, 2533 หน้า 97-98)

1 การประดิษฐ์คิดค้น หมายถึง ตัวนวัตกรรมที่เกิดจากการพัฒนาขึ้นเองหรือนำเข้ามาจากตางประเทศ สำหรับประเทศกำลังพัฒนามักมีข้อจำกัดทางด้านทุนและเทคโนโลยีภายในประเทศ ทำให้การประดิษฐ์คิดค้นมีลักษณะเป็นวิชาการประยุกต์ (applied) มากกว่าเป็นองค์ความรู้ (body of knowledge) และจะต้องมีการปรับนวัตกรรมนั้นให้สอดล้องกับสภาพสังคมให้มากที่สุด
2 ผลของการรับนวัตกรรม การแพร่นวัตกรรมนั้นจะสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับชาวบ้านว่าจะยอมรับนวัตกรรมนั้นหรือไม่ ดังนั้นผลของนวัตกรรมจะควบคู่กับการประเมินเสมอ เช่น การประเมินว่าชาวบ้านยอมรับนวัตกรรมโดยสมัครใจหรือไม่ นวัตกรรมมีคุณค่าในสายตาชาวบ้านอย่างไร และผลกระทบที่เกิดจากนวัตกรรมนั้นมีมากน้อยเพียงใด หลังจากที่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในคริสตวรรษที่ 18 การเศรษฐกิจ การทำมาหากินได้เปลี่ยนไป มีการประดิษฐ์ สร้างสรรค์ ประดิษฐ์กรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมายมาใช้ในระบบอุตสาหกรรมโดยนำเครื่องมือ เครื่องจักรมาใช้ทดแทนแรงงานคนมากยิ่งขึ้น ด้วยการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้น ก่อให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างไม่หยุดยั้ง เช่นเดียวกับการพัฒนาทางเทคโนโลยีการผลิต เครื่องจักรต่างๆ ที่ถูกสร้างขึ้นได้พัฒนาไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว เช่น การพัฒนาของเครื่องคิดเลข ไปเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบเมนเฟรม ไมโครคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในสำนักงานและบ้าน และการพัฒนาในขั้นต่อไปก็คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถถาม-ตอบได้ เพื่อเอามาใช้ในระบบอุตสาหกรรม (ทอฟฟ์เลอร์ อัลวิน, 2532 หน้า 154)
ในด้านของสังคมการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นก็เป็นผลมาจากปัจจัยทางสังคม เช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงในระบบการผลิตเป็นระบบอุตสาหกรรมได้ทำให้คนในครอบครัวต้องออกไปทำงานนอกบ้านมากขึ้น เวลาจึงเป็นสิ่งมีค่าสำหรับทุกคน เครื่องใช้ไม้สอยในบ้านจึงถูกประดิษฐ์ขึ้นเพี่อสนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม อาทิ หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เครื่องล้างจาน เตาไมโครเวฟ ระบบเครื่องปรับอากาศอัตโนมัติ โทรศัพท์ ฯลฯ อันเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยทุ่นเวลาสำหรับทุกคน นอกจากนั้น ระบบการสื่อสารของมนุษย์เราจะเริ่มขยายเครือข่ายมากยิ่งขึ้น เป็นผลจากการพัฒนาเทคโนโลยีทางการสื่อสาร แต่เป็นลักษณะการสื่อสารแบบไม่ต้องพบตัว นับแต่โทรศัพท์จนไปถึงโทรศัพท์แบบเห็นภาพ ซึ่งมีผลดีในเรื่องการประหยัดเวลาการเดินทางในการพบปะกัน แต่มีผลในทางลบ ในการแยกตัวเองเป็นเอกเทศของมนุษย์ เกิดสังคมแบบต่างคนต่างอยู่มากขึ้น ดังจะเห็นได้จากสังคมในยุคปัจจุบันที่เป็นสังคมที่ต้องการข่าวสารข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการพิจารณาตัดสินใจ นับแต่การเลือกซื้อสินค้า บริการ จนถึงการบริหารกิจการงานต่างๆ เทคโนโลยีการสื่อสาร อาทิ โทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ คอมพิวเตอร์ ดาวเทียม ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
<> ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น นอกจากเป็นปัจจัยที่มีผลในทางบวก อันเป็นปัจจัยในการสร้างความเจริญเติบโตให้สังคมแล้ว อีกด้านหนึ่งการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น ยังมีผลกระทบต่อสังคมในทางลบที่เป็นลูกโซ่ตามมาด้วย ดังตัวอยางต่อไปนี้คือ
ผลกระทบต่อชุมชน การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้น ส่งผลให้มนุษย์มีส่วนร่วมในสังคมลดน้อยลง ความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน มีความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านหายไป เพราะมนุษย์ทุกคนสามารถพึ่งตนเองได้ ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีทำให้เกิดเทคโนโลยีที่ใช้แรงงานคนน้อยลง ผู้ที่มีทุนมากอาจนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้งานทั้งหมดเป็นธุรกิจขนาดใหญ่มากขึ้น ทำให้ธุรกิจขนาดเล็กหดลงแต่ในทางตรงกันข้ามการที่แต่ละคนสามารถเป็นเจ้าของเทคโนโลยีที่มีขนาดเล็กอาจจะทำให้เขากลายเป็นนายทุนอิสระ หรือรวมตัวเป็นสหกรณ์เจ้าของเทคโนโลยีร่วมกัน และอาจทำให้เกิดองค์กรทางธุรกิจใหม่ ๆ ได้
ผลกระทบด้านจิตวิทยา ความเจริญทางเทคโนเลยีที่เพิ่มขึ้นในเครื่องมือสื่อสารทำให้มนุษย์มีการติดต่อสื่อสารผ่านทางจออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้นจึงทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์ต้องแบ่งแยกเป็น ความสัมพันธ์อันแท้จริงโดยการสื่อสารกันตัวต่อตัวที่บ้านกับความสัมพันธ์ผ่านจออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีผลให้ความรู้สึกนึกคิดในความเป็นมนุษย์เปลี่ยนไป ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีบางตัวมีผล กระทบต่อสภาพแวดล้อมด้วย นอกจากนี้การสร้างเทคโนโลยีการผลิตมากขึ้น มีผลทำให้มีการขุดค้นพลังงานธรรมชาติมาใช้ได้มากขึ้นและเร็วขึ้น เป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติในทางอ้อมและการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น โดยปราศจากทิศทางการดูแลที่เหมาะสมจะทำให้สิ่งแวดล้อม อาทิ แม่น้ำ พื้นดิน อากาศ เกิดมลภาวะมากยิ่งขึ้นผลกระทบทางด้านการศึกษา
นวัตกรรมทางการศึกษามีลักษณะตามธรรมชาติที่เป็นสิ่งใหม่ ดังนั้นในความใหม่จึงอาจทำให้ทั้งครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่นนักเทคโนโลยีทางการศึกษา ผู้บริหารการศึกษา อาจตั้งข้อสงสัยและไม่แน่ใจว่า จะมีความพร้อมที่จะนำมาใช้เมื่อใด และเมื่อใช้แล้วจะทำให้เกิดผลสำเร็จมากน้อยอย่างไร แต่นวัตกรรมก็ยังมีเสน่ห์ในการดึงดูดความสนใจ เกิดการตื่นตัว อยากรู้อยากเห็นตามธรรมชาติของมนุษย์ หรือ อาจเกิดผลในเชิงตรงข้าม คือกลัวและไม่กล้าเข้ามาสัมผัสสิ่งใหม่ เพราะเกิดความไม่แน่ใจว่าจะทำให้เกิดความเสียหาย หรือใช้เป็นหรือไม่ ครูในฐานะผู้ใช้นวัตกรรมโดยตรงจึงต้องมีความตื่นตัวและหมั่นติดตามความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีต่างๆ ให้ทันตามความก้าวหน้า และเลือกนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่สอดคล้องกับสถานภาพและสิ่งแวดล้อมของตนเอง การหมั่นศึกษา และติดตามความรู้วิทยาการใหม่ ๆ ให้ทันจะช่วยทำให้การตัดสินใจนำนวัตกรรมมาใช้เพื่อการศึกษา สามารถทำได้อย่างถูกต้องมีประสิทธิภาพและลดการเสี่ยงและความสั้นเปลืองงบประมาณและเวลาได้มากที่สุด สุดท้าย ก็คือ จะต้องมีกระบวนการในการตรวจสอบการใช้นวัตกรรมนั้น ๆ ว่า มีความเหมาะสม มีข้อบกพร่องและแนวทางปรับปรุงแก้ไขอย่างไร ทั้งโดยการสังเกต การใช้แบบทดสอบเพื่อตรวจวัดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนอยู่เสมอ ก็จะทำให้เราเชื่อแน่ได้ว่าการใช้นวัตกรรมนั้นมีประสิทธิภาพสูงสุด
2 การแพร่กระจายเป็นลักษณะเฉพาะของการสื่อสารแบบหนึ่งการแพร่กระจายนั้นมีลักษณะพิเศษในประเด็นที่ข่าวสาร (messages) มีความเกี่ยวข้องกับความคิดใหม่ ๆ เนื่องจากการสือสารเป็นกระบวนการที่ผู้มีส่วนร่วมเป็นผู้สร้างข้อมูลและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับบุคคลอื่น ๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกันขึ้น ดังนั้นการสื่อสารจึงเป็นกระบวนการในการทำให้เกิดการบรรจบกัน (convergence) ของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปในการแลกเปลี่ยนข่าวสาร เพื่อให้เข้าใจความหมายได้ตรงกัน การสื่อสารเป็นกระบวนการสองทางของการบรรจบกัน (two-way process of convergence) ด้วยเหตุนี้กระบวนการทางการสื่อสารของมนุษย์จึงนำมาใช้ในการอธิบาย เหตุการณ์ที่เกี่ยวกับการแพร่กระจายได้ ยกตัวอย่างเช่นเมื่อผู้นำการเปลี่ยนแปลง (change agent) หาทางชักจูงใจให้เป้าหมาย (client) ยอมรับนวัตกรรมเมื่อเรามองย้อนกลับไปถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนการยอมรับ และสิ่งที่เกิดตามมาเราจะเห็นได้ว่าเหตุการณ์นั้นเป็นเพียงบางส่วนของกระบวนการทั้งหมดในการแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างบุคคลสองคนเช่นผู้ที่เป็นผู้รับ (client) อาจจะพบผู้นำการเปลี่ยนแปลง (change agent) พร้อมด้วยปัญหาและความต้องการของเขา และนวัตกรรมเป็นสิ่งที่น่าจะนำไปสู่การแก้ปัญหานี้ได้ ดังนั้นเมื่อเรามองการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้นำการเปลี่ยนแปลงและผู้รับในมุมกว้างก็จะเห็นว่าการมีปฏิสัมพันธ์จะมีความต่อเนื่องไปหลายๆ วงจร ซึ่งความจริงก็คือกระบวนการของการแลกเปลี่ยนข่าวสารนั่นเอง
3 ความใหม่ของนวัตกรรมคือระดับของความไม่แน่ใจ (uncertainty) Rogers อธิบายว่า ในการติดต่อสื่อสารนวัตกรรมที่เป็นความคิดใหม่ ๆ นั้น ความใหม่ของความคิดในเนื้อหาของข่าวสารจะมีลักษณะเฉพาะคือ ความใหม่ หมายถึงระดับของความไม่แน่ใจ (uncertainty) ที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมนั้น (newness means that some degree of uncertainty is involved) ความไม่แน่ใจจะมีระดับของตัวเลือกที่สามารถรับรู้ในเหตุการณ์นั้น ๆ ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่สัมพันธ์กับตัวเลือกนั้น ข่าวสาร (information) เป็นความแตกต่างในพลังงานสาร (matter-energy) ซึ่งกระทบต่อความไม่แน่ใจในสถานการณ์หนึ่ง ๆ ที่ซึ่งมีตัวเลือกปรากฎอยู่หลายตัวเลือก ตัวอย่างของนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับความไม่แน่ใจ เช่น นวัตกรรมเกี่ยวกับการใช้เครื่องทำน้ำร้อนพลังแสงอาทิตย์ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์และวิธีการทำงานของเครื่องดังกล่าว ตลอดจนการเพิ่มราคาของน้ำมันในอนาคต มีส่วนช่วยลดความไม่แน่ใจของนวัตกรรมลงไประดับหนึ่ง เนื่องจากผลของการสื่อสารจึงทำให้เกิดการยอมรับเครื่องทำน้ำร้อนพลังแสงอาทิตย์ ความคิดรวบยอดนี้ช่วยให้เราเข้าใจเกี่ยวกับการแพร่กระจายของนวัตกรรมในรูปแบบของกระบวนการติดต่อสื่อสารมากยิ่งขึ้น


วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2550

สื่อมวลชน...กับการศึกษา


สื่อมวลชน...กับการศึกษา
ปัจจุบัน สื่อทางเทคโนโลยีมีบทบาทมากและมีความสำคัญมาก เพราะว่าเทคโนโลยีเป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศนศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น และเทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนา และปัจจุบันพัฒนาการทางเทคโนโลยี การศึกษาในประเทศไทย ได้มีการให้มีความสำคัญต่อสื่อมวลชน และเทคโนโลยีการศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
สื่อมวลชน (mass media) มาจากคำว่า "สื่อ" และ "มวลชน" หมายถึง สื่อหรือช่องทางในการนำสารไปยังมวล ชน หรื่อ การถ่ายทอดข่าวสาร ต่าง ๆ ไปยังมวลชน โดยผ่านเทคโนโลยีทางการสือสารต่าง ๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือ รูปภาพ คอมพิวเตอร์ วารสาร ภาพยนต์ หนังสือพิมพ์ โปสเตอร์ กระจายเสียง เป็นต้น ซึ่งเป็นแหล่งที่ให้ความรู้ได้มาก เพราะมีกระจายอยู่ทั่วไปและสสามารถเข้าถึงมวลชนได้กว้างขวาง ดังนั้น สื่อสารมวลชน จึงหมายความว่า การสื่อ สารไปยังผู้รับสารจำนวนมากในเวลาเดียวกัน โดยอาศัยสื่อมวลชนและผู้รับสาร ไม่ได้อยู่ร่วมกันในที่แห่งเดียวกัน และ เทคโนโลยี สื่อสารมวลชน หมายถึง เทคโนโลยีที่นำมา ประยุกต์ใช้ ต้น "สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา" จึงหมายถึง การนำสื่อมวลชนมาใช้เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้เนื้อหาบทเรียนไปยังผู้เรียนหรือผู้รับจำนวนมากได้ในเวลาเดียวกัน
และในปัจจุบันสื่อมวลชนที่มีอิทธิพลต่อสังคมมากที่สุดคือสื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วารสาร รูปภาพ โปสเตอร์ หนังสือ แผนที่สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อระบบไฟฟ้า ได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ กระจายเสียง คอมพิวเตอร์ เครื่องเสียงโดยสื่อมวลชนมีหน้าที่ที่สำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้
1. ให้ข่าวสารและรายงานความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ต่างๆ
2. เป็นแหล่งกลางในการเสนอความคิดเห็นหรือข้อโต้แย้งต่อปัญหาที่เกิดในสังคม
3. ให้สาระบันเทิงแก่ประชาชน
4. ให้ความรู้ทางการศึกษาและบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ
5. ให้บริการด้านธุรกิจการค้า
6. เร้าความสนใจแก่ประชาขน และเพิ่มพูนความสนใจแกมวลชน
7. ให้มวลชนได้พัฒนาทักษะ และกระบวนการต่าง ๆ ในการแก้ปัญหาหน้าที่สำคัญดังกล่าวเป็นหน้าที่โดยทั่วไปของสื่อมวลชน แต่สื่อมวลชนจะมีบทบาทและหน้าที่นอกเหนือกว่านั้นในประเทศที่กำลังพัฒนา ดังนี้ 1. การเสนอข่าว การทำให้ประชาชนมีความตื่นตัวมากขึ้น การยกระดับความต้องการของประชาชนเพื่อเป้าหมายของการพัฒนา และการสร้างบรรยากาศ 2. การมีบทบาทในกระบวนการตัดสินใจของสังคม สื่อมวลชนจะมีบทบาทในทางอ้อมโดยการให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆแก่ประชาชน 3. การสอน สื่อมวลชนสามารถช่วยในการศึกษาและฝึกอบรมทุกประเภท สามารถช่วยสนับสนุนระบบการศึกษาสำหรับสื่อที่มีอิทธิพลมากที่สุดในปัจจุบัน คือ สื่อโทรทัศน์ หนึ่งคงมาจากความเป็นอิสระและการมีเสรีภาพมากขึ้นในวงการนี้ ทำให้สื่อโทรทัศน์สามารถนำเสนอข่าวสารต่างๆ ได้แปลกใหม่และหลากหลายกว่า ประกอบกับธรรมชาติของโทรทัศน์ ที่สามารถนำเสนอภาพและเสียง ก็เลยยิ่งทำให้เข้าถึงประชาชนได้มากและรวดเร็วตลอดเวลาที่สังคมไทยได้เปลี่ยนผ่านมาสู่ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัย ประกอบกับระบบสื่อสารมวลชนไทยมีการพัฒนาเกิดสื่อใหม่ๆ ขึ้นมากมาย
SMS มีทั้งข้อดีและข้อเสีย จะขอกล่าวถึงข้อเสีย มากกว่าข้อดี ดังนี้
1. เป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการส่ง
2. เสียเวลาในการพิมพ์ตัวอักษร
3. ในการพิมพ์เนื้อหาพิมพ์ได้จำกัด
4. ในการส่งข้อความบางทีผู้รับอาจไม่พอใจที่จะรับ
5. ผู้ส่งไม่สามารถรับรู้ได้ว่าผู้รับต้องการรับหรือไม่ ทำให้ผู้ส่งไม่มีมารยาทในการส่ง
6. ในการส่งข่าวสารที่ไม่เหมาะสม อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้รับได้แต่อย่างไรก็ตาม SMS ก็ยังมีประโยชน์ต่อการสื่อสาร เป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ลักษณะการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
การนำสื่อมวลชนมาใช้ในการศึกษา จะเกิดประโยชน์ต่อการศึกษา หรื่อการเรียนการสอน ดังนี้ คือ
1. เป็นเครื่องมือในการสอน
2. สื่อสอนแทนครู
3. เพื่อเสริมความรู้ เสริมให้ผู้เรียนได้รับความรู้
4. สื่อในการศึกษาระบบเปิด โดยใช้วิทยุหรือโทรทัศน์เป็นสื่อเพื่อดำเนินการสอน
5. อุปกรณ์ในการบันทึกเรื่องราวสำคัญ
6. แหล่งการเรียนรู้ เป็นการรวบรวมวัสดุที่บันทึกเรื่องราวสำคัญต่างๆ ไว้เพื่อการศึกษาค้นคว้า
7. ให้ผู้เรียนหรือผู้ฟัง/ผู้ชมร่วมในรายการ
8. เพิ่มความเป็นธรรมในสังคม โดยการให้ความเสมอภาคทางการศึกษาแก่ผู้ที่ต้องออกจากโรงเรียน ผู้เรียนกลุ่มพิเศษ โดยการใช้สื่อวิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์
9. เพื่อบริการสังคม เพื่อการเสนอข่าวสาร ความรู้ สาระบันเทิง ตลอดจนการศึกษาทั้งทางตรง และทางอ้อม
การใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา สื่อมวลชนจำแนกออก ได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อระบบไฟฟ้า สื่อสองประเภทนี้สามารถนำมาใช้ในการศึกษาทั้งในระบบและนอกโรงเรียนได้ทั้งสิ้น สื่อแต่ละประเภทที่นำมาใช้ในการศึกษา ดังนี้
1. สิ่งพิมพ์
2. วิทยุ
3. โทรทัศน์และวีดิทัศน์
4. ภาพยนตร์
5. สื่อประสม