วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2550

สื่อมวลชน...กับการศึกษา


สื่อมวลชน...กับการศึกษา
ปัจจุบัน สื่อทางเทคโนโลยีมีบทบาทมากและมีความสำคัญมาก เพราะว่าเทคโนโลยีเป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศนศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น และเทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนา และปัจจุบันพัฒนาการทางเทคโนโลยี การศึกษาในประเทศไทย ได้มีการให้มีความสำคัญต่อสื่อมวลชน และเทคโนโลยีการศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
สื่อมวลชน (mass media) มาจากคำว่า "สื่อ" และ "มวลชน" หมายถึง สื่อหรือช่องทางในการนำสารไปยังมวล ชน หรื่อ การถ่ายทอดข่าวสาร ต่าง ๆ ไปยังมวลชน โดยผ่านเทคโนโลยีทางการสือสารต่าง ๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือ รูปภาพ คอมพิวเตอร์ วารสาร ภาพยนต์ หนังสือพิมพ์ โปสเตอร์ กระจายเสียง เป็นต้น ซึ่งเป็นแหล่งที่ให้ความรู้ได้มาก เพราะมีกระจายอยู่ทั่วไปและสสามารถเข้าถึงมวลชนได้กว้างขวาง ดังนั้น สื่อสารมวลชน จึงหมายความว่า การสื่อ สารไปยังผู้รับสารจำนวนมากในเวลาเดียวกัน โดยอาศัยสื่อมวลชนและผู้รับสาร ไม่ได้อยู่ร่วมกันในที่แห่งเดียวกัน และ เทคโนโลยี สื่อสารมวลชน หมายถึง เทคโนโลยีที่นำมา ประยุกต์ใช้ ต้น "สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา" จึงหมายถึง การนำสื่อมวลชนมาใช้เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้เนื้อหาบทเรียนไปยังผู้เรียนหรือผู้รับจำนวนมากได้ในเวลาเดียวกัน
และในปัจจุบันสื่อมวลชนที่มีอิทธิพลต่อสังคมมากที่สุดคือสื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วารสาร รูปภาพ โปสเตอร์ หนังสือ แผนที่สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อระบบไฟฟ้า ได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ กระจายเสียง คอมพิวเตอร์ เครื่องเสียงโดยสื่อมวลชนมีหน้าที่ที่สำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้
1. ให้ข่าวสารและรายงานความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ต่างๆ
2. เป็นแหล่งกลางในการเสนอความคิดเห็นหรือข้อโต้แย้งต่อปัญหาที่เกิดในสังคม
3. ให้สาระบันเทิงแก่ประชาชน
4. ให้ความรู้ทางการศึกษาและบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ
5. ให้บริการด้านธุรกิจการค้า
6. เร้าความสนใจแก่ประชาขน และเพิ่มพูนความสนใจแกมวลชน
7. ให้มวลชนได้พัฒนาทักษะ และกระบวนการต่าง ๆ ในการแก้ปัญหาหน้าที่สำคัญดังกล่าวเป็นหน้าที่โดยทั่วไปของสื่อมวลชน แต่สื่อมวลชนจะมีบทบาทและหน้าที่นอกเหนือกว่านั้นในประเทศที่กำลังพัฒนา ดังนี้ 1. การเสนอข่าว การทำให้ประชาชนมีความตื่นตัวมากขึ้น การยกระดับความต้องการของประชาชนเพื่อเป้าหมายของการพัฒนา และการสร้างบรรยากาศ 2. การมีบทบาทในกระบวนการตัดสินใจของสังคม สื่อมวลชนจะมีบทบาทในทางอ้อมโดยการให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆแก่ประชาชน 3. การสอน สื่อมวลชนสามารถช่วยในการศึกษาและฝึกอบรมทุกประเภท สามารถช่วยสนับสนุนระบบการศึกษาสำหรับสื่อที่มีอิทธิพลมากที่สุดในปัจจุบัน คือ สื่อโทรทัศน์ หนึ่งคงมาจากความเป็นอิสระและการมีเสรีภาพมากขึ้นในวงการนี้ ทำให้สื่อโทรทัศน์สามารถนำเสนอข่าวสารต่างๆ ได้แปลกใหม่และหลากหลายกว่า ประกอบกับธรรมชาติของโทรทัศน์ ที่สามารถนำเสนอภาพและเสียง ก็เลยยิ่งทำให้เข้าถึงประชาชนได้มากและรวดเร็วตลอดเวลาที่สังคมไทยได้เปลี่ยนผ่านมาสู่ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัย ประกอบกับระบบสื่อสารมวลชนไทยมีการพัฒนาเกิดสื่อใหม่ๆ ขึ้นมากมาย
SMS มีทั้งข้อดีและข้อเสีย จะขอกล่าวถึงข้อเสีย มากกว่าข้อดี ดังนี้
1. เป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการส่ง
2. เสียเวลาในการพิมพ์ตัวอักษร
3. ในการพิมพ์เนื้อหาพิมพ์ได้จำกัด
4. ในการส่งข้อความบางทีผู้รับอาจไม่พอใจที่จะรับ
5. ผู้ส่งไม่สามารถรับรู้ได้ว่าผู้รับต้องการรับหรือไม่ ทำให้ผู้ส่งไม่มีมารยาทในการส่ง
6. ในการส่งข่าวสารที่ไม่เหมาะสม อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้รับได้แต่อย่างไรก็ตาม SMS ก็ยังมีประโยชน์ต่อการสื่อสาร เป็นช่องทางหนึ่งที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ลักษณะการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
การนำสื่อมวลชนมาใช้ในการศึกษา จะเกิดประโยชน์ต่อการศึกษา หรื่อการเรียนการสอน ดังนี้ คือ
1. เป็นเครื่องมือในการสอน
2. สื่อสอนแทนครู
3. เพื่อเสริมความรู้ เสริมให้ผู้เรียนได้รับความรู้
4. สื่อในการศึกษาระบบเปิด โดยใช้วิทยุหรือโทรทัศน์เป็นสื่อเพื่อดำเนินการสอน
5. อุปกรณ์ในการบันทึกเรื่องราวสำคัญ
6. แหล่งการเรียนรู้ เป็นการรวบรวมวัสดุที่บันทึกเรื่องราวสำคัญต่างๆ ไว้เพื่อการศึกษาค้นคว้า
7. ให้ผู้เรียนหรือผู้ฟัง/ผู้ชมร่วมในรายการ
8. เพิ่มความเป็นธรรมในสังคม โดยการให้ความเสมอภาคทางการศึกษาแก่ผู้ที่ต้องออกจากโรงเรียน ผู้เรียนกลุ่มพิเศษ โดยการใช้สื่อวิทยุ โทรทัศน์ วีดิทัศน์
9. เพื่อบริการสังคม เพื่อการเสนอข่าวสาร ความรู้ สาระบันเทิง ตลอดจนการศึกษาทั้งทางตรง และทางอ้อม
การใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา สื่อมวลชนจำแนกออก ได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อระบบไฟฟ้า สื่อสองประเภทนี้สามารถนำมาใช้ในการศึกษาทั้งในระบบและนอกโรงเรียนได้ทั้งสิ้น สื่อแต่ละประเภทที่นำมาใช้ในการศึกษา ดังนี้
1. สิ่งพิมพ์
2. วิทยุ
3. โทรทัศน์และวีดิทัศน์
4. ภาพยนตร์
5. สื่อประสม