วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2550

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology:IT)
หรือที่เรียกว่า ไอที นั้น โดยเน้นการใช้เทคโนโลยี ซึ่งรวมถึงกระบวนการดำเนินงานสารสนเทศหรือสารนิเทศในขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่การแสวงหา การวิเคราะห์ การจัดเก็บ การจัดการ และการเผยแพร่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความรวดเร็วทันต่อการนำมาใช้ประโยชน์ หรือการนำสารสนเทศและข้อมูลไปปฏิบัติตามเนื้อหาของข้อมูลนั้นๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายของผู้ใช้

ประเภทของเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
1. ระบบสนับสนุนการทำงานในการปฏิบัติงานประจำวัน (Official information System:OIS)
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร(Management Information System :MIS)
3.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System :DSS)
4.ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง(Executive Information System :EIS)
5.ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems :ES)

ข้อดี – ข้อจำกัดของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ข้อดี
-มีการเรียนรู้ที่กว้างขวาง
-ทำให้วิถีความเป็นอยู่สังคมเปลี่ยนไปข้อจำกัด
-มีค่าใช้จ่ายสูง-บุคคลากร

แนวทางการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับการศึกษา
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)-เครื่องสอน (Teaching Machine)- การสอนเป็นคณะ (Team Teaching)- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
2. ความพร้อม (Readiness) เดิมทีเดียวเชื่อกันว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายาก และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียน การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น- ศูนย์การเรียน (Learning Center)- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)- การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอน หรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชา ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียน เป็นปี ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น- การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)- มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)- การเรียนทางไปรษณีย์4. ประสิทธิภาพในการเรียน การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น- มหาวิทยาลัยเปิด- การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์- การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป- ชุดการเรียนการสอน

การประเมินผลการใช้งาน
จัดทำแบบทดสอบหรือแบบสอบถาม ให้กับผู้ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ

ไม่มีความคิดเห็น: